อพาร์ทเม้นท์  
 

           
           +จะสร้างบ้าน,อพาร์ทเมนท์ จะต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไร่?

           +ค่าออกแบบ นำมาแบ่งเป็นส่วนๆ อย่างไร
           +แหล่งเงินทุน
           +มารู้จักส่วนประกอบต่างๆของอาคาร
           
+ฮวงจุ้ย

           - จะสร้างบ้าน,อพาร์ทเมนท์ จะต้องมีค่าใช้จ่ายเท่าไร่?
    >>>ค่าบริการ ออกแบบ-เขียนแบบ คิดราคา 2%-3.5% ของค่าก่อสร้าง
    >>>ส่วนค่าก่อสร้างอาคาร คิดจากนำพื้นที่ใช้สอย(ตารางเมตร) คูณด้วยอัตราค่าก่อสร้างต่อตารางเมตร

     ตัวอย่าง การสร้างบ้านพักอาศัยชั้นเดียว
     1. ส่วนรับแขก 4x4 =16 ตร.ม.
    2. ส่วนอาหาร 4x3 = 12 ตร.ม.
    3. ครัว          4x3 = 12 ตร.ม.
    4. ห้องน้ำ 2x2 จำนวน 2 ห้อง = 8 ตร.ม.
    5. ห้องนอน 4x4 จำนวน 2 ห้อง = 32 ตร.ม.
    6. ระเบียง,โถง โดยประมาณ 25 % ของพื้นที่สุทธิทั้งหมด = 20 ตร.ม.
    รวมพื้นที่ใช้สอย 100 ตร.ม.               
    ค่าก่อสร้าง พ.ศ. 2551 ประเภทบ้านพักอาศัย ตารางเมตรละ 12,000-15,000 บาท(ขึ้นอยู่กับประเภทของอาคาร
    และวัสดุที่ใช้)

    >>>>การคำนวณค่าก่อสร้าง 100 x 12,000 = 1,200,000 บาท<<<<
    >>>>การคำนวณค่าออกแบบ 1,200,000 x 0.02 (2%ของค่าก่อสร้าง)= 24,000 บาท

    แค่เงินเพียง 24,000 บาท คุณได้แบบบ้านพักอาศัย 100 ตร.ม ตามความต้องการการใช้สอยของคุณเอง

                                                               >>>>>กลับไปด้านบน<<<<<<
                                                                                  

   -ค่าออกแบบ นำมาแบ่งเป็นส่วนๆ อย่างไร

    ค่าบริการของสถาปนิก เมื่อไดรับมาจากเจ้าของโครงการแล้วจะต้องมีการให้กับวิศวกรสาขาต่างๆที่เข้ามาร่วมงาน
    (วิศวกรคงไม่ยอมออกแบบโครงสร้างให้ฟรีแน่)ซึ่งจะจัดการแบ่งตามวิธีดังนี้

    1. เมื่อรับค่าบริการ(เงิน)มา จะหักค่าใช้จ่ายบางประเภทออกก่อนคือ
          - ค่าประสานงาน (หักไม่เกิน 10%)
          - ค่าใช้จ่ายพิเศษอื่นๆ (หักไม่เกิน 15%)
    2. เหลือเงินจากข้างต้นเมือไรจะแบ่งกัน โดยแยกประเภทของโครงการเป็น 4 ประเภท
          - ประเภทที่ 1 บ้านพักอาศัย
          - ประเภทที่ 2 อาคารชุด สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า หอพัก โรงเรียน
          - ประเภทที่ 3 โรงแรม โรงพยาบาล โรงภาพยนต์ สนามกีฬาในร่ม
          - ประเภทที่ 4 โรงงาน โกดัง อาคารจอดรถ ห้องแถวตลาด
          โดยจะแบ่งออกเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ดังนี้

    ประเภทของงาน/คน

1

2

3

4

    สถาปนิก

65%

60%

55%

50%

    วิศวกรโครงสร้าง

20%

20%

22%

26%

    วิศวกรสุขาภิบาล

5%

5%

6%

6%

    วิศวกรไฟฟ้า

10%

10%

11%

11%

    วิศวกรเครื่องกล

-

5%

6%

6%

                                                 >>>>>กลับไปด้านบน<<<<<<

     - แหล่งเงินทุน 
        แหล่งเงินทุนของการประกอบธุรกิจ อพาร์ทเม้นท์ มาจากสองทางใหญ่ๆด้วยกัน คือ เงินทุนส่วนตัว และ
   การกู้เงิน จากสถาบันการเงินต่างๆ ถ้าใช้เงินทุนส่วนตัว ผู้ลงทุนสร้างอพาร์ทเม้นท์ สามารถดำเนินการ
   ได้ทันที แต่ในกรณีที่มีเงินส่วนตัวน้อยผู้ลงทุนอาจติดต่อขอกู้จากสถาบันได้เงินซึ่งผู้กู้ต้องมีหลักทรัพย์
   ค้ำประกันเงินกู้โดยอาจใช้ที่ดินแปลงที่จะลงทุนก่อสร้างอพาร์ทเม้นท์ก็ได้ ผู้ประกอบการที่มีที่ดินเป็นของ
   ตนเองมักขอกู้เงินจากสถาบันการเงินได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง เนื่องจากสถาบันการเงินจะนำ
   ราคาที่ดินที่ประเมินได้รวมกับค่าก่อสร้างแล้วปล่อยให้ผู้กู้ประมาณ 60% - 70% ของราคาค่าที่ดินและ
   สิ่งปลูกสร้างรวมกันเงินกู้ที่สถาบันการเงินปล่อยให้นี้ เป็นเงินในส่วนของค่าก่อสร้างอาคารเท่านั้น ไม่รวม
   ถึงค่าตกแต่ง ค่าเฟอร์นิเจอร์ และอุปกรณ ์สำนักงานสถาบันการเงินที่ผู้ประกอบการติดต่อขอกู้เงินได้
  
  
  

 ธนาคารอาคารสงเคราะห์  ระเบียบการขอสินเชื่อประเภทแฟลต อพาร์ทเม้นท์ ให้เช่า
 
1. วัตถุประสงค์ในการให้กู้เงิน
     (1) เพื่อปลูกสร้างอาคารแฟลตให้เช่า
      (2) เพื่อไถ่ถอนจำนองอาคารแฟลตจากสถาบันการเงินอื่น
      (3) เพื่อซื้อหรือชำระหนี้อาคารแฟลต
 
2 . ระเบียบการกู้เงิน

     (1) ธนาคารพิจารณาให้กู้ภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
           - ให้กู้ไม่เกิน 100% ของมูลค่าการก่อสร้างอาคารแฟลต หรือกรณีขอกู้ค่าที่ดิน ให้กู้ได้ไม่เกิน 30% ของมูลค่าที่ดิน
โดยวงเงินกู้รวมค่าที่ดินและอาคารต้องไม่เกิน 80% และธนาคารสงวนสิทธิ์การให้กู้ค่าที่ดินตามพื้นที่และจังหวัด
ตามที่เห็นควร
           ทั้งนี้ การพิจารณาวงเงินกู้ ธนาคารพิจารณาจากรายรับค่าเช่าที่มีความเป็นไปได้ของอาคารแฟลต หักรายจ่ายของ
แฟลตตามวิธีการของธนาคาร โดยรายรับหลังหักรายจ่ายต้องสามารถผ่อนชำระเงินงวดได้โดยไม่มีปัญหา
           - ผู้กู้ต้องแสดงหลักฐานการเงินที่ใช้สมทบการก่อสร้างให้ชัดเจน และสามารถตรวจสอบได้ เช่น บัญชีเงินฝาก เป็นต้น
           - กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ใช้เป็นที่ก่อสร้างอาคารแฟลตต้องเป็นของผู้กู้ และต้องจำนองที่ดินเป็นหลักประกันหนี้ด้วย
           - อายุของผู้กู้ต้องไม่เกิน 55 ปี หากเกิน ต้องมีผู้กู้ร่วม และอายุของผู้กู้ร่วมรวมกับระยะเวลาผ่อนชำระต้องไม่เกิน 65 ปี

      (2) กรณีปลูกสร้างอาคาร ผู้ขอปลูกสร้างอาคารจะต้องเป็นบุคคลเดียวกันกับผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน

     (3) อาคารที่นำมาเป็นหลักประกันจะต้องเป็นอาคารคอนกรีตถาวร มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ คือ ห้องน้ำ
(พื้นห้องน้ำปูกระเบื้อง) และเหมาะสำหรับผู้เช่าที่มีรายได้น้อยหรือปานกลาง

     (4) ขนาดห้องพัก ต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า 20 ตารางเมตร ความกว้างของห้องพักไม่น้อยกว่า 3.0 เมตร

      (5) ที่ดินที่จะใช้ปลูกสร้างอาคารแฟลตให้เช่าขั้นต่ำต้องมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 60 ตารางวา

      (6) ถนนผ่านอาคารแฟลตอย่างน้อยต้องมีสภาพเป็นถนนลาดยาง

      (7) ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 15 ปี นับจากวันทำสัญญา ในกรณีที่ขอกู้เงินเพื่อปลูกสร้างและอยู่ระหว่างการก่อสร้าง
(ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี) ผู้กู้ยังไม่ต้องชำระเงินงวด แต่จะต้องชำระดอกเบี้ยเงินกู้ในส่วนที่เบิกจ่ายไปแล้วทุกเดือน

      (8) ธนาคารคิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ในอัตรา MLR ตามประกาศของธนาคาร

      (9) อาคารที่จะปลูกสร้าง หรือไถ่ถอนจะต้องถูกต้องตามแบบที่ได้รับอนุญาต ธนาคารจะไม่พิจารณาให้กู้ หรือยกเลิกการให้กู้ เมื่อมีการก่อสร้างผิดไปจากแบบที่ได้รับอนุญาต

      (10) ที่ดินและอาคารต้องอยู่ในหรือใกล้เขตชุมชน ใกล้บริการคมนาคมสาธารณะ และต้องมีทางเข้า-ออกโดยสะดวกพอควร

      (11) ผู้กู้จะต้องประกันภัยระหว่างก่อสร้างก่อนรับเงินงวดแรก และเมื่อปลูกสร้างอาคารแล้วเสร็จต้องทำประกันอัคคีภัยกับ
บริษัทประกันภัยที่ธนาคารให้ความเห็นชอบ ในวงเงินไม่น้อยกว่าวงเงินกู้ โดยโอนผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ให้ธนาคาร เป็นผู้รับจนกว่าจะหมดภาระหนี้สิน

     (12) คิดค่าธรรมเนียมดังนี้
                ค่าธรรมเนียมการวิเคราะห์โครงการ
                - วงเงินขอกู้ไม่เกิน 30.00 ล้านบาท คิดค่าธรรมเนียม 0.25% แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
                - วงเงินขอกู้เกิน 30.00 ล้านบาท คิดค่าธรรมเนียม 20,000 บาท
                - กรณีขอกู้เพิ่ม คิดค่าธรรมเนียม 0.25% แต่ไม่ต่ำกว่าครั้งละ 2,000 บาท และไม่เกิน 10,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมประเมินโครงการ 5,000 บาท
          ค่าธรรมเนียมตรวจสอบผลการก่อสร้าง
                - คิดค่าธรรมเนียมการตรวจสอบ ครั้งละ 1,200 บาท
           **** เงินค่าธรรมเนียมจะไม่คืนให้แม้ธนาคารไม่อนุมัติให้กู้ *****

 
3. หลักฐานประกอบการขอกู้
  1. คำขอกู้เงินตามแบบฟอร์มของธนาคาร
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรส (ถ้ามี)
    ในกรณีเป็นนิติบุคคลจะต้องแสดงใบจดทะเบียนบริษัทฯ ใบจดทะเบียนการค้า สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ ที่ระบุ
    วัตถุประสงค์ สามารถกู้เงิน ค้ำประกันเงินกู้ และให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ หนังสือรับรองบริษัทฯ จากกระทรวงพาณิชย์ และ
    รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
  3. สำเนาโฉนดที่ดิน พร้อมสารบัญจดทะเบียนทุกหน้า ถ่ายเอกสารเท่าตัวจริง
  4. แบบพิมพ์เขียวของอาคารที่ใช้ก่อสร้าง(ฉบับจริงชุดประทับตราฯ) 1 ชุด ประกอบด้วย ผังบริเวณ รูปแบบแปลนพื้นทุกชั้น รูปด้าน 4 ด้าน รูปตัด อย่างน้อย 1 รูป
  5. สัญญากู้ สัญญาจำนองพร้อมใบเสร็จที่ผ่อนชำระกับสถาบันการเงินเดิม ย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน พร้อมรูปถ่าย
    ภายนอกอาคาร 3 ด้าน รูปถ่ายภายในตัวอาคาร คือ รูปถ่ายทางเดิน, โถง, รูปถ่ายภายในห้องพัก ในกรณีขอกู้เพื่อไถ่ถอนจำนอง
  6. ผู้กู้จะต้องถ่ายภาพสภาพแวดล้อมบริเวณที่ตั้งหลักประกันมาให้ธนาคารพิจารณาประกอบคำขอกู้
  7. หนังสือเสนอราคาค่ารับเหมาก่อสร้าง (ถ้ามี)
  8. หลักฐานแสดงฐานะทางการเงินของผู้ขอกู้
  9. ใบขออนุญาตปลูกสร้างฯ หรือสำเนาเอกสารที่ยื่นขออนุญาตก่อสร้าง (ถ้ามี)
 
4. การผ่อนชำระเงินกู้
     (1) กรณีขอกู้ประเภทไถ่ถอนจำนองอาคารแฟลต ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระเงินงวดตามสัญญา ตั้งแต่เดือนที่ทำสัญญากู้เงิน
     (2) กรณีขอกู้ประเภทปลูกสร้างอาคารแฟลต ผู้กู้จะต้องผ่อนชำระดอกเบี้ยทุกเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนที่ทำสัญญากู้เงิน และ
ได้รับเงินกู้ไปแล้ว และจะต้องผ่อนชำระเงินงวด เมื่อเบิกจ่ายเงินกู้ครบตามสัญญา
 
5. สถานที่ติดต่อขอกู้เงิน
  • ฝ่ายสนับสนุนสินเชื่อ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ อาคาร 2 ชั้น 2 เลขที่ 63 ถนนพระรามที่ 9
    เขตห้วยขวาง กทม. 10310 กรณีที่แฟลตนั้นตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือที่
  • ฝ่ายกิจการสาขาภูมิภาค 1 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ อาคาร 2 ชั้น 9 หรือ สาขาในเขตภาคเหนือ
    หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรณีแฟลตนั้นตั้งอยู่ หรือที่
  • ฝ่ายกิจการสาขาภูมิภาค 2 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ อาคาร 2 ชั้น 8 หรือ สาขาในเขตภาคกลาง
    หรือ ภาคใต้ กรณีแฟลตนั้นตั้งอยู่
 
6. หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ
  • ฝ่ายสนับสนุนสินเชื่อ โทร. 02-202-1494 และ 02-202-1496
  • ฝ่ายกิจการสาขาภูมิภาค 1 โทร. 0-2202-1634
  • ฝ่ายกิจการสาขาภูมิภาค 2 โทร. 0-2202-1186-7
    ที่มา : http://www.ghb.co.th/th/Service/Service_Loan_09_th.htm


            

                                                >>>>>กลับไปด้านบน<<<<<<

     - มารู้จักกับส่วนประกอบต่างๆ ของอาคาร
           >>เสาเข็ม
   เสาเข็มทั่วไปจะแยกออกได้ป็นสำคัญ 2 ประเภทคือ เสาเข็มตอก และเสาเข็มเจาะ เสาเข็มตอก เสาเข็มเจาะเองก็ยังสามารถแยกได้อีก เป็น อย่างละ 2 ประเภท ซึ่งสรุปรวมวิธีการทำงาน และจุดด้อย น่าจะสรุปพอเป็นสังเขปได้ดังต่อไปนี้
    1. เสาเข็มตอกทั่วไป จะมีหน้าตาต่างๆ กันมีทั้งแบบ สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม และเป็นรูปตัวไอ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีหน้าตัดตันทั้งต้น เวลาตอกลงไปง่ายๆ อย่างที่เราเห็นกันโดยทั่วไป
    2. เสาเข็มกลมกลวง เป็นเสาเข็มที่สามารถรับแรงได้มากกว่าเสาเข็มแบบแรกในปริมาณคอนกรีตเท่าๆ กัน เพราะสามารถทำให้โตกว่าได้ ผลิตโดยการปั่นหมุนคอนกรีตให้เสาเข็มออกมากลม และกลวง เวลาตอกส่วนใหญ่จะขุดเป็นหลุมก่อนแล้วกดเสาเข็มลงไป พอถึงระดับที่ต้องการจึ่งจะเริ่มตอก ทำให้มีส่วนเสาเข็มไปแทนที่ดินน้อยลง (ดินถูกขุดออกมาบางส่วนแล้ว)อาคารข้างเคียงเดือดร้อนน้อยลงจากการเคลื่อนตัวของดิน (แต่ความดัง ฝุ่นละออง และความสะเทือนยังคงอยู่)
    3. เสาเข็มเจาะแบบแห้ง เป็นระบบเสาเข็มเจาะขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะลึกประมาณ 20 เมตร (แล้วแต่ระดับชั้นทราย)รับน้ำหนักได้ไม่เกิน 120 ตันต่อต้น วิธิการก็คือ เจาะดินลงไป (แบบแห้งๆ)แล้วก็หย่อนเหล็กเทคอนกรีตลงไปในหลุม ราคาจะแพงกว่าระบบเข็มตอก แต่เกิดมลภาวะน้อยกว่ามาก ทั้งเรื่องการเคลื่อนตัวของดิน ความสั่นสะเทือน ฝุ่นละออง จึงเป็นที่นิยมใช้กันในที่ที่มีคนอยู่หนาแน่น
   4. เสาเข็มเจาะแบบเปียก ทำเหมือนเสาเข็มเจาะแห้ง แต่เวลาขุดดินจะขุดลึกแล้วใส่สารเคมีลงไปเคลือบผิวหลุมดินที่เจาะให้ทำหน้าที่เป็นตัวยึดประสานดิน และกันดินไม่ให้พังทลายลงเวลาเจาะลึกๆ (ซึ่งสามารถเจาะได้ลึกกว่า 70 เมตร) รับน้ำหนักได้มาก และเกิดมลภาวะน้อย แต่ราคาแพง
   ส่วนการเลือกว่าจะใช้เสาเข็มแบบไหนดีนั้น ต้องตั้งข้อสังเกตและทราย ปัญหาก่อน แล้วเปรียบเทียบความจำเป็น และเป็นไปได้ของแต่ละระบบในแต่ละงาน โดยยึดถือหลักประจำใจในการพิจารณาดังนี้
   >ราคา
   >อาคารข้างเคียง(มลภาวะ)
   >ความเป็นไปได้ในการขนส่งเข้าหน่วยงาน
   >เวลา (ทั้งเวลาทำงาน และที่ต้องรอคอย)

                                                    >>>>>กลับไปด้านบน<<<<<<
    

- ฮวงจุ้ย
ทำเลของอาคาร ตามหลักฮวงจุ้ย
    - อาคารที่หันหน้าไปทางทิศใต้ซึ่งเป็นที่ว่าง เป็นทำเลที่ดีตามหลักของฮวงจุ้ยดีเยียม เพราะกระแสลมจะนำความสดชื่น
และการไหลเวียนของอากาศที่ดี รวมทั้งพลังงานแห่งจักรวาลเข้ามาในบ้าน คนในบ้านจะอยู่อาศัยอย่างสบายใจ

    -อาคารหลังใดที่อยู่สุดซอยเป็นทางตัน เป็นทำเลที่ไม่ดีนัก เพราะพลังอันเลวร้ายจากถนนใหญ่จะพุ่งเข้ามาชนตรงๆ
โดยเฉพาะถ้าบ้านนั้นหันหน้าออกมาทางปากซอยด้วยแล้ว ถือว่าเป็นทำเลอัปมงคลมากทีเดียว

    -อาคารที่ยกระดับขึ้นและหันหน้าไปทางแม่น้ำที่ไหลรินช้าๆ หรือ ทะเลสาบที่ราบเรียบ จัดได้ว่าอยู่ในทำเลที่ดี เพราะ
กระแสของน้ำเปรียบได้กับเงินทอง ยิงมีน้ำไหลเอื่อยๆ ยิ่งทำให้การหมุนเวียนของกระแสโชคลาภคล่องตัวขึ้น

    -อาคารพักอาศัยทีหันหน้าชนกับทางสามแพร่งนั้น ต้องหาทางแก้ไขโดยเร็วที่สุด เพราะพลังเลวร้ายจาก 3 ทิศจะพุ่งตรง
สู่อาคารหลังนั้น ทำให้คนในบ้านอยู่กันไม่เป็นสูข มีแต่เรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ เสียเงินทองไม่หยุดหย่อน
     ทางแก้นั้นทำได้หลายทาง เช่น แขวนลูกแก้วคริสตัลไว้ที่หน้าบ้าน ติดกระจกไว้หน้าประตูบ้านเพื่อสะท้อนพลังงาน
เลยร้ายออกไปจากตัวบ้าน หรือติดตั้งยันต์ 8 ทิศเอาไว้ เพื่อคุ้มครองคนที่อยู่ในบ้าน
    
    -บ้านที่ปลูกด้วยดินเปล่า ควรตรวจดูให้ดีว่าที่นั้นมีหน้าดินที่สะอาด มีการระบายน้ำอย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดการไหลเวียน
ของพลังงานที่ดี
    -ทำเลของบ้านที่เป็นมงคลที่สุดตามหลักฮวงจุ้ยนั้น ด้านหน้าของหน้าของบ้านนั้นควรต่ำกว่าด้านหลัง คือ พื้นที่
ด้านหน้าควรหันเข้าหาทะเล แม่น้ำ ทะเลทราบ หรือพื้นดินที่ต่ำกว่า
     ส่วนด้านหลังควรอิงอยู่กับภูเขา เนินเขา หรือพื้นดินที่สูงกว่าเพื่อให้บ้านนั้นได้รัการคุ้มครอง เหมือนกับมือกองทัพ
คอยหนุนหลังอยู่ในยามสู้รบ

                                                         >>>>>กลับไปด้านบน<<<<<<
    




อพาร์ทเม้นท์